Our third post (see one and two) related to the accusation that Pravit Rojanaphruk has committed lese majeste with seven items listed as evidence. This is the third, from Prachatai in 2011. It was also at The Nation, and is still there.
Society at risk, for goodness’ sake
Wed, 29/06/2011 – 11:46 | by prachatai
Pravit Rojanaphruk, The Nation
Thai society appears heavily afflicted by the cult of the “good person”. Vote for “good people”, Army chief General Prayuth Chan-ocha said this month. Many more have expressed similar views as the general election draws near.
The problem is, whose “good people” should we vote for and how is a “good person” defined?
The belief that there exists a single, universally accepted notion of a good person/politician too conveniently neglects the fact that there exist competing ideologies, interests and classes that would certainly ensure different notions of good person/politician in any society.
Consider some aspects of the following “good people”.
“Good person” No 1: Prime Minister Abhisit Vejjajiva, leader of the Democrat Party, is a “good man” in the eyes of his supporters. This is despite the fact that in late 2008, the “Democrat” Party dispatched a very senior member to hold the crucial government-coalition talks at the residence of then Army chief General Anuphong Paochinda. The Army has since expanded its influence in politics with no “withdrawal date” set.
Abhisit is a “good man” to his supporters even though he presided over the bloodiest military suppression in Bangkok’s history. Between April and May 2010, at least 92 persons died, mostly red shirts, and 2,000 were injured. Not a single letter of condolence from this “good man” was ever sent to any relatives of the largely unarmed red shirts who were killed.
This “good man” (khon dee) did express regret a year later. However, it came just a week before the general election, after he trailed big in all public polls, and at a political campaign rally. He also had conveniently forgotten to point out that the burning of buildings in Bangkok and elsewhere came after the month-long bloody suppression, and did not take place right after the first slaughter of 20 people on April 10.
“Good person” No 2: Thaksin Shinawatra is a good man from his supporters’/fans’ perspective. His supporters do not really recall (or care for?) the 2,000-plus extrajudicial killings during Thaksin’s war on drugs or the deadly Tak Bai/Krue Se incidents in the deep South. Never mind if Thaksin was corrupt, abusive, authoritarian and even a megalomaniac in the eyes of millions while in power, because millions more Thais adore the man and his populist policies. Thus his younger sister, the Pheu Thai Party’s prime-ministerial candidate Yingluck, must be good too.
“Good person” No 3: Army chief Prayuth. He is “good” despite crucially taking part in the September 2006 military coup and the bloody crackdown of April-May 2010.
“Good person” No 4: Yellow-shirt People’s Alliance for Democracy co-leader Sondhi Limthongkul is a “good man” to his followers although his current “Vote No” campaign is a slightly veiled open invitation for another Army/invisible hand(s) to meddle “legitimately” in post-election politics.
“Good person” No 4, No 5 and more? The so-called “invisible hand(s)” are also still seen by millions as a “good bunch of special people”. They manipulate politics from behind and through proxies and propaganda while the mainstream media either support them or, out of fear of “legal” prosecution and social sanction, simply exercise self-censorship. A large but decreasing number of Thais still believe in their “goodness” despite rumours, critical private discussions and the lack of transparency, accountability and legitimacy.
Many Thais continue to root for their good people. Like football hooligans, it doesn’t matter whether the referee is right or wrong, they will boo him if the call goes against their team. Their team can do no wrong.
Thailand is ruled by these “good people” to the point where the rule of law, free and fair elections, voices of the voters, good governance, transparency and accountability count for little. Many simply want their good man/woman to rule the country, through whatever means, because of their “goodness”.
ปัญหาความดีของ “คนดี”
โดย ประวิตร โรจนพฤกษ์ Fri, 2011-07-01 13:44
“คนดี” “คนดี” “คนดี” – ท่องเอาไว้นะเพราะ ผบ.ทบ.ก็บอกให้เลือก “คนดี” ในวันเลือกตั้งอาทิตย์ที่ 3 ก.ค.นี้ (รวมถึงเลือก “คนดี” สำหรับโอกาสอื่นๆ ในวันธรรมดา)
ดูเหมือนสังคมไทยจะยึดติดกับ “คนดี” จนคนจำนวนมิน้อยเชื่อว่านี่แหละคือคำตอบของสังคมไทย อย่างไรก็ตาม คนที่เชื่อในความดีของ “คนดี” ควรจะถามต่อว่าคนดีเหล่านี้เป็นคนดีของใคร ดีอย่างไร และจำกัดความอย่างไร เพราะความเชื่อที่ว่ามีคนดีที่เป็นสากลไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง หรือผู้คนที่ประกอบอาชีพอื่นๆ มักละเลยความเป็นจริงที่ว่าสังคมย่อมมีอุดมการณ์ทางการเมืองและสังคมอันหลาก หลายต่อสู้กัน รวมถึงกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ และชนชั้นต่างๆ ซึ่งแม้แต่ภายในชนชั้นเดียวกันอย่างชนชั้นกลางก็มีความหลากหลาย และสิ่งเหล่านี้มีผลต่อการจำกัดความคำว่า “คนดี” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เราลองมาพิจารณาดู “คนดี” เหล่านี้
“คนดี” คนที่ 1 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็น “คนดี” ในสายตาของแฟนและผู้สนับสนุนพรรค ถึงแม้รัฐบาลประชาธิปัตย์จะตั้งขึ้นในค่ายทหาร ในปี 51 โดยส่งนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ไปคุยกับฝ่ายอื่นที่บ้านพรรคของ ผบ.ทบ.ตอนนั้น ซึ่งได้แต่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ตั้งแต่นั้นมา อิทธิพลและอำนาจของทหารบกก็แผ่ขยายไปสู่พื้นที่การเมืองต่างๆ มากขึ้น จนตัวผู้นำกองทัพอาจมีอำนาจเหนือนายกฯ เลยก็ว่าได้ “คนดี” ชื่ออภิสิทธิ์นั้นมือเปื้อนเลือด และถึงแม้มีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์การปราบผู้ชุมนุมเสื้อแดงในเดือนเม.ย. พ.ค. ปีที่แล้วกว่า 92 ศพ (ซึ่งรวมถึงผู้ที่ไม่ใช่เสื้อแดงด้วย แต่ส่วนใหญ่เป็นเสื้อแดง) รวมถึงบาดเจ็บกว่าสองพันคน แต่ “คนดี” คนนี้ก็มิเคยส่งจดหมายแสดงความเสียใจต่อญาติคนเสื้อแดงที่เสียชีวิตหรือบาด เจ็บแม้แต่ผู้เดียว อย่างไรก็ตาม เขากลับออกมาแสดงความเสียใจ แต่เป็นการแสดงความเสียใจในเวทีหาเสียงพรรคประชาธิปัตย์หนึ่งอาทิตย์ก่อน เลือกตั้ง และหลังจากทราบเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าประชาธิปัตย์ตามหลังอยู่ไกลโข
“คนดี” ชื่ออภิสิทธิ์ยังได้กล่าวโจมตีเสื้อแดงว่าคนเหล่านี้เผาบ้านเผาเมือง หากเจ้าตัวไม่เคยคิดว่าเสื้อแดงได้อดทนมาอย่างมากแล้ว เพราะหลังเหตุการณ์ฆ่าไป 20 คนตอนคืนวันที่ 10 เม.ย.53 ก็มิได้ปรากฏการเผาบ้านเผาเมืองแต่อย่างไร แถมความเป็นจริงที่ว่าใครเผาเซ็นทรัลเวิร์ลตอนนี้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและ ค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ซึ่งนายอภิสิทธิ์ แต่งตั้งเองก็ยังไม่สามารถให้คำตอบอย่างชัดเจน ถึงแม้เวลาผ่านไปกว่าหนึ่งปีแล้ว
“คนดี” คนที่ 2 ทักษิณ ชินวัตร ก็เป็นคนดีในสายตาของแฟนและผู้สนับสนุน ผู้สนับสนุนจำนวนมิน้อยมิได้สนใจ (หรืออาจสนับสนุน) สงครามยาบ้า ที่นำไปสู่การเสียชีวิตของผู้ถูกกล่าวหาโดยไม่มีโอกาสขึ้นศาลกว่าสองพันศพ นี่ยังไม่รวมถึงเหตุการณ์กรณีตากใบหรือกรือเซะใน 3 จังหวัดภาคใต้ ไม่เป็นไรหากทักษิณถูกกล่าวหาว่าโกงกินและถูกศาลตัดสินหรือใช้อำนาจในทางมิ ชอบในระหว่างเคยเป็นนายกฯ หรือมีลักษณะบ้าอำนาจในสายตาของคนไทยเป็นล้านๆ เพราะเรา “มั่นใจ” ว่ามีคนมากกว่านี้อีกหลายล้านที่ชื่นชอบทักษิณ เพราะฉะนั้น น้องสาวทักษิณซึ่งทักษิณเรียกว่าเป็นโคลน (clone) ของตน จึงย่อมเป็นคนดีเช่นกัน
“คนดี” คนที่ 3 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็เป็น “คนดี” ในสายตาของคนบางกลุ่ม ถึงแม้เขามีบทบาทสำคัญในการร่วมก่อรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 และมีบทบาทสำคัญในการใช้กำลังทหารพร้อมกระสุนจริงนับแสนนัดเพื่อปราบปราม เข่นฆ่าผู้ชุมนุมเสื้อแดงซึ่งส่วนใหญ่ไร้อาวุธและชุมนุมอย่างสันติ
“คนดี” คนที่ 4 นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้นำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็เป็น “คนดี” ถึงแม้แคมเปญโหวตโน ไม่ต่างจากการพิมพ์บัตรเชิญและสร้าง “ความชอบธรรม” ให้ทหารหรือมือที่มองไม่เห็นกลับเข้ามาแทรกการเมืองในระบบหลังเลือกตั้งวัน อาทิตย์อีกครั้ง
“คนดี” คนที่ 4, คนที่ 5, … (และอาจมีมากกว่านี้) คนดีเหล่านี้ก็คือ “มือที่มองไม่เห็น” หรือ “อำนาจที่ปฏิเสธไม่ได้” ซึ่งสื่อมวลชนกระแสหลักไม่กล้ากระชากหน้ากาก เพราะกลัวถูกโยนเข้าคุก มือที่มองไม่เห็นมักเข้าแทรกแซงการเมืองจากหลังฉากทั้งทางตรง โดยผ่านมือตนเองหรือมือที่เล็กกว่าของเครือข่ายลูกน้อง และทางอ้อมผ่านโฆษณาชวนเชื่อ ซึ่งไม่ต่างจากยากล่อมประสาททางสังคม โดยที่สื่อกระแสหลักก็พร้อมที่จะตอบสนองจัดยาให้ โดยไม่ตั้งคำถามว่ามือที่มองไม่เห็นหรืออำนาจที่ปฏิเสธไม่ได้มีความชอบธรรม ความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้หรือไม่ ถึงแม้ชาวบ้านชาวช่องจำนวนมิน้อยจะได้ตาสว่างไปไกลแล้ว
นอกจากตัวอย่างข้างบน เราอาจถามต่อว่าพ่อที่รักลูกสาวตนเองดั่งไข่ในหิน ไม่ยอมให้ลูกสาวกลับบ้านดึก ไม่ยอมให้ลูกสาวไปเที่ยวกับแฟนตามลำพัง แต่กลับใช้เงินไปซื้อเซ็กส์จากเด็กผู้หญิงที่ยากจนและถูกเอารัดเอาเปรียบ บังคับให้ต้องมาขายตัว คนเช่นนี้ถือเป็นคนดีหรือไม่ อีกตัวอย่างหนึ่งอาจได้แก่ ทหารผู้ซื่อสัตย์ภักดีต่อผู้บังคับบัญชา แต่ท้ายสุด ไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งให้ร่วมกระทำการก่อรัฐประหารเช่นนี้ เขาเป็นคนดีหรือเลว เอากรอบอะไรมาวัด
สังคมไทยดูเหมือนจะรักและเชียร์คนดีอย่างไม่ลืมหูลืมตา ไม่ต่างจากพวกฮูลิแกนที่เชียร์ทีมฟุตบอลของตนเองโดยมักตะโกนด่าทอกรรมการและ ฝ่ายตรงข้ามไม่ว่าฝ่ายตนจะผิดหรือไม่ก็ตาม คนเหล่านี้เชื่อว่าฝ่ายตนต้องถูกต้องเสมอ
ทุกวันนี้ คนจำนวนไม่น้อยในสังคมไทยเรียกร้องให้เอา “คนดี” มาปกครองบ้านเมือง จนกระทั่งไม่สนใจปัจจัยอื่นๆ เช่น หลักการแบ่งแยกอำนาจการปกครองระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ, สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ความโปร่งใสและตรวจสอบได้ของอำนาจการเมือง อำนาจฝ่ายพลเมืองที่พึงอยู่เหนืออำนาจทหาร เสียงประชาชนส่วนใหญ่ที่ต้องอยู่เหนืออำนาจอื่นๆ และสิทธิทางการเมืองและวัฒนธรรมของคนกลุ่มน้อย เป็นต้น เพราะว่า คนไทยเชื่อว่าขอเพียงให้สังคมมี “คนดี” ปกครองก็พอ และไม่สำคัญหรอกว่า “คนดี” เหล่านั้นจะมาจากการเลือกตั้งหรือลากตั้งก็ตาม